ส่วนที่ ๑ : การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ (SWOT ANALYSIS)
การวิเคราะห์บริบทภายในองค์กร
จุดแข็ง
จุดอ่อน
การวิเคราะห์บริบทภายนอกองค์กร
โอกาส
ความท้าทาย
ความได้เปรียบเชิงกลยุมธ์ (STRAREGIC ADVANTAGE)
จากจุดแข็งและโอกาสทางธุรกิจขององค์กร จะเห็นความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ได้สูงมาก เนื่องจาก
ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC CHALLENGES)
จากจุดอ่อนและความท้าทายทางธุรกิจขององค์กร ได้แก่ ข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคลากรและงบประมาณจากนโยบาย ปรับลดข้อราชการและคงงบประมาณแผ่นดินและการขยายบริการทางการนิติเวชไปทั่วประเทศโดยยังตงมาตรฐานทางวิชาการ ทางวิชาชีพและคุณภาพการตรวจเทียบเท่าส่วนกลางทำให้เกิดความท้าทายเชิงกลยุทธ์ ที่อาจทำให้ไม่บรรลุวิสัยทัศน์ ดังนี้
๓.๑ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การรักษาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งผลิตได้น้อยและหายากไว้ในองค์กร ภายใต้ภาระงานสูงจากการขยายงานไปภูมิภาค ในขณะที่ไม่สามารถเพิ่มอัตรากำลังได้และยังคงคุณภาพมาตรฐานทางวิชาชีพ วิชาการได้
๓.๒ ด้านการบริหารจัดการงบประมาณ แม้ว่าจะมีระบบงบประมาณแบบบูรณาการ ก็คาดว่าจะได้รับการจัดสรรไม่เต็มจำนวนเพื่อไม่ให้กระทบต่อภารกิจอาจมีความจำเป็นต้องคิดค้นนวัตกรรมในการบริการเพื่อก่อรายได้ภายใต้เงื่อนไขของข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆโดยในระยะแรกจะเน้นการสร้างรายได้เงินบำรุงและระยะยาวจะเน้นการจัดตั้งกองทุนเพื่อรับการสนับสนุนจากสาธารณชนหน่วยงานทางปกครองในท้องที่และหน่วยงานสาธารณกุศลต่างๆ
ส่วนที่ ๒ : วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยมและประเด็นยุทธศาสตร์
วิสันทัศน์
เป็นองค์กรหลักทางนิติเวชศาสตร์ระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน ด้านบริการมาตรฐานวิชาชีพและวิชาการ
พันธกิจ
เป้าหมาย
เป้าประสงค์
ค่านิยม
ค่านิยม คือ การกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคลากรยึดถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์สถาบันนิติเวชวิทยาได้กำหนดค่านิยมจากกรอบแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
จากประเด็นความได้เปรียบและความท้าทายเชิงกลยุทธ์ข้างต้นถูกนำมากำหนดเป้าหมายเพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ และใช้ค่านิยมองค์กรมากำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสันทัศน์ได้ ดังนี้
เป้าหมายที่ ๑ ระบบงานนิติเวชเข้าถึงประชาชนในทุกภูมิภาคอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ มาตรฐานคุณภาพการตรวจทางนิติเวชเป็นเลิศ (Quality Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ธรรมาภิบาลเป็นเลิศด้านบริหารจัดการ (Governance Excellence)
เป้าหมายที่ ๒ พร้อมเผชิญภัยความมั่นคงมีผู้เสียชิวิตจำนวนมาก
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เตรียมความพร้อมเผชิญภัยพิบัติที่มีคนตายจำนวนมาก (Mass Fatality Management)
เป้าหมายที่ ๓ ผูกพันบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ สร้างความผูกพันบุคลากร (Workforce Engagement)
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ธรรมาภิบาลเป็นเลิศด้านวิชาชีพ (Professional Governance Excellence)
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ ยึดอรรถประโยชน์ (Optimizied Utility)
ส่วนที่ ๓ : กลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์
เป้าหมายที่ ๑ ระบบงานนิติเวชเข้าถึงประชาชนในทุกภูมิภาคอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด ๑) จัดตั้งกลุ่มงานนิติเวชวิทยาประจำภาคได้ ๔ ภาค
๒) กลุ่มงานนิติเวชวิทยาประจำภาคมีห้องปฏิบัติการครอบคลุมครบทุกสาขาวิทยาการอย่างน้อย ๔ ภาค
๓) กลุ่มงานนิติเวชวิทยาประจำภาคมีและใช้มาตรฐานคุณภาพเทียบเท่าส่วนกลาง ๑๐๐%
๔) กลุ่มงานนิติเวชวิทยาประจำภาคได้รับการตรวจประเมินด้านธรรมาภิบาล ITA ๑๐๐%
ยุทธศาสตร์ที่ ๑: การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)
เป้าประสงค์ ๑ ระบบงานนิติเวชเข้าถึงประชาชนในทุกภูมิภาคและครอบคลุมทุกสาขาวิทยาการ
กลยุทธ์ ๑.๑ แผนงานโครงการขยายระบบงานนิติเวชสู่ภูมิภาคและระบบส่งต่อทางนิติเวชตามแนวทางปฏิรูประบบนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒: มาตรฐานคุณภาพการตรวจนิติเวชเป็นเลิศ (Quality Excellence)
เป้าประสงค์ ๒ มีการพัฒนามาตรฐานคุณภาพกลางในการตรวจทางนิติเวชและมีการถ่ายทอดนำไปใช้เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพทุกภูมิภาค
กลยุทธ์ ๒.๑ แผนงานโครงการรักษามาตรฐานคุณภาพการตรวจนิติเวช
ยุทธศาสตร์ที่ ๓: ธรรมาภิบาลเป็นเลิศด้านบริหารจัดการ (Managerial Governance Excellence)
เป้าประสงค์ ๓ ระบบงานนิติเวชได้รับการตรวจประเมินธรรมาภิบาลทุกภูมิภาค
กลยุทธ์ ๓.๑ แผนงานโครงการตรวจประเมินธรรมาภิบาลองค์กร ITA
๓.๒ แผนงานโครงการฐานข้อมูลข่าวสารด้านนิติเวชระหว่างองค์กร
๓.๓ แผนงานโครงการเครือข่ายสารสนเทศด้านการบริหารจัดการ
เป้าหมายที่ ๒ พร้อมเผชิญภัยความมั่นคงที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ตัวชี้วัด ๑) จัดตั้งหน่วยงานรองรับวินาศภัยที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากได้ครบทุกภาค
ยุทธศาสตร์ที่ ๔: เตรียมความพร้อมเผชิญภัยพิบัติที่มีคนตายจำนวนมาก (Mass Fatality Management)
เป้าประสงค์ที่ ๔ ระบบงานนิติเวชมีความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติที่มีคนตายจำนวนมากในทุกภูมิภาค
กลยุทธ์ ๔.๑ แผนงานโครงการจัดตั้งศูนย์เอกลักษณ์บุคคลระดับภูมิภาค
๔.๒ แผนงานโครงการศูนย์บริหารจัดการด้าน DVI-LOGISTIC
๔.๓ แผนงานโครงการจัดหาหน่วยงานตรวจเก็บและรักษาศพเคลื่อนที่ (DPMU) พร้อมอุปกรณ์การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลภาคสนาม
เป้าหมายที่ ๓ : สร้างความผูกพันบุคลากร
ตัวชี้วัด ๑. ดัชนีวัดความสุขด้วยตนเองของคนในองค์กร (Happy Work Life Index) ≥ ๕๐
๒. ดัชนีสุขภาวะองค์กร (Happy Work Life Index) ≥ ๖๐
ยุทธศาสตร์ที่ ๕: ผูกพันบุคลากร Workforce engagement
เป้าประสงค์ ๕ บุคลากรมีความสุขในการทำงานและมีความผูกพันกับองค์กร
กลยุทธ์ ๕.๑ แผนงานสวัสดิ์ภาพตำรวจและครอบครัวตำรวจในภาวะวิกฤติ รพ.ตำรวจ
๕.๒ แผนงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร Green Lean & Mindful Workplace
ยุทธศาสตร์ที่ ๖: ธรรมาภิบาลเป็นเลิศด้านวิชาชีพ Professional Governance Excellence
เป้าประสงค์ ๖ บุคลากรทุกสาขาวิทยาการมีโอกาสในการพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพและวิชาการของตนเองอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ความเท่าเทียมกันในโอกาสการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพแต่ละวิชาชีพโอกาสในการเรียนรู้วิธีการที่เป็นเลิศทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิต
กลยุทธ์ ๖.๑ แผนงานจัดตั้งองค์กรแพทย์ พยาบาลและสหวิชาชีพด้านนิติเวช
๖.๒ แผนงานโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านพิษวิทยา
๖.๓ แผนงานโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านนิติพันธุศาสตร์
๖.๔ แผนงานโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านนิติพยาธิวิทยา
๖.๕ แผนงานโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลการรักษาที่พบศพและการรับส่งศพ
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ ยึดอรรถประโยชน์ ( OPTIMIZED UTILITY)
เป้าประสงค์ ๗ องค์กรมีการทบทวนบริการกระบวนงานและเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อสร้างอรรถประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลดต้นทุนขั้นตอนในการดำเนินงานการสร้างรายได้ให้กับองค์กรและบุคลากรโดยการคิดค้นนวัตกรรมการให้บริการทางเลือกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในบริการแก่ประชาชนลดขั้นตอนการให้บริการที่ไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ และการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางเลือกเพื่อลดต้นทุนการให้บริการ
กลยุทธ์ ๗.๑ แผนงานโครงการนวัตกรรมการให้บริการทางเลือกในการตรวจทางห้องปฏิบัติการนิติเวช
๗.๒ แผนงานโครงการลดขั้นตอนการให้บริการที่ไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์
๗.๓ โครงการเทคโนโลยี ทางเลือกเพื่อลดต้นทุนการให้บริการ