ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจสายสัมพันธ์ทางโลหิต (DNA)

เอกสารประกอบการรับบริการตรวจสารพันธุกรรม (DNA)

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง (Passport) กรณีเป็นชาวต่างชาติ
  2. สูติบัตร ของบุตรที่ปรากฏชื่อมารดาในสูติบัตร
  3. ในกรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน หรือชื่อ-สกุล ไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน, สูติบัตร หรือหนังสือเดินทาง ต้องมีหนังสือนำส่งจากทะเบียนราษฎร์
  4. หากผู้รับบริการมีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ต้องนำเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ฉบับจริง มาเสนอต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐาน
  5. กรณีใช้ในราชการ ต้องมีหนังสือส่งตัวผู้รับบริการจากหน่วยราชการโดยระบุวัตถุประสงค์การตรวจ รวมถึง ชื่อ-นามสกุล ของผู้รับบริการ และหนังสือราชการนั้นต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน

เกณฑ์การให้บริการ

  1. ผู้รับบริการมีอายุตั้งแต่ 4-6 เดือนขึ้นไป (เด็กสามารถดื่มน้ำได้)
  2. ในกรณีผู้รับบริการอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ต้องให้มารดาลงนามรับรองให้ความยินยอมในการตรวจ หากมารดาเสียชีวิตให้นำใบมรณะบัตรมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐาน
  3. โทรนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้งเพื่อลงตารางนัดหมายเข้ารับบริการตรวจ DNA

ขั้นตอนการตรวจ

  1. ยื่นคำร้อง กรอกแบบฟอร์ม ที่งานตรวจพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล ชั้น 1 อาคารสถาบันนิติเวชวิทยา สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ
  2. ตรวจสอบข้อมูลบุคคล บัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร หรือ หนังสือเดินทาง (Passport)
  3. เข้ารับการตรวจเก็บตัวอย่าง DNA โดยป้ายเยื่อบุกระพุ้งแก้ม และถ่ายภาพ
  4. ชำระค่าธรรมเนียมการตรวจที่แผนกการเงิน
  5. ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร กรณีเคี้ยวหมาก ให้งดล่วงหน้า 1 วันก่อนเข้ารับบริการ
  6. ระยะเวลาในการดำเนินการต่อ 1 ราย (ครอบครัว) ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ค่าใช้จ่ายในการตรวจ

  1. บิดา-มารดา-บุตร คนละ 5,000 บาท รับผลการตรวจภายใน 30 วันทำการ
  2. บิดา-บุตร           คนละ 7,500 บาท รับผลการตรวจภายใน 60 วันทำการ
  3. มารดา-บุตร           คนละ 7,500 บาท รับผลการตรวจภายใน 60 วันทำการ
  4. ตรวจพิสูจน์สายสัมพันธ์ทางฝ่ายบิดา เช่น พี่ชายพ่อ-หลานชาย คนละ 7,500 บาท รับผลการตรวจภายใน 60 วันทำการ
  5. ตรวจพิสูจน์สายสัมพันธ์ทางฝ่ายมารดา เช่น น้องสาวแม่-หลานสาว คนละ 10,000 บาท รับผลการตรวจภายใน 60 วันทำการ

ทางสถาบันนิติเวชวิทยาไม่รับตรวจในกรณีต่อไปนี้

  1. น้ำคร่ำ เลือดจากสายสะดือ หรือส่วนประกอบใด ๆ ของทารกที่กำลังอยู่ในครรภ์
  2. วัตถุพยานชนิดต่าง ๆ เช่น เส้นผม เล็บ เลือด หรือของใช้ส่วนตัวที่อาจมีตัวอย่างสารพันธุกรรม

ผู้มีสิทธิรับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์

ต้องเป็นผู้มีชื่อที่ได้ระบุไว้ในเอกสารแจ้งความจำนงขอรับผลเท่านั้น

ติดต่อสอบถาม

กลุ่มงานตรวจพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล ชั้น 1 อาคารสถาบันนิติเวชวิทยา สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

โทร. 02-2076108 ต่อ 2201, 1104

เวลาให้บริการ : 09.00 น. – 12.00 น. / 13.00 น. – 15.00 น.